MOIT 1
MOIT 2
MOIT 3
MOIT 4
MOIT 5

เอกสารแนะนำความรู้เกี่ยวกับวัคซีนสำหรับประชาชน ไข้หวัดใหญ่ ป้องกันได้ด้วย วัคซีน

  20 กรกฏาคม 2561 17:57    บทความทั่วไป    สำนักงานสาธารณสุขอำเภอโนนสะอาด    อ่าน 29099  

โรคไข้หวัดใหญ่คืออะไร

ไข้หวัดใหญ่ เกิดจากการติดเชื้อไวรัสอินฟลูเอนซ่า ซึ่งมีการระบาดเป็นช่วงๆ ในหน้าฝน และหน้าหนาว เป็นเชื้อที่มีโอกาสกลายพันธุ์เป็นสายพันธุ์ใหม่ที่รุนแรงได้ 

การติดต่อ

โรคไข้หวัดใหญ่สามารถแพร่กระจายเชื้อได้ทางการหายใจ ไอ จาม 

อาการของโรคไข้หวัดใหญ่

อาการทั่วไปจะคล้ายไข้หวัดจากเชื้ออื่นๆ ทั่วไป แต่มีโอกาสที่จะมีอาการรุนแรง มีไข้ และเกิดโรคแทรกซ้อนได้มากกว่า ผู้ป่วยจะมีน้ำมูกไหล ไอ เจ็บคอ มีไข้สูง ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยตามตัว โดยทั่วไปจะมีอาการ 2-3 วัน แต่บางรายอาจมีอาการรุนแรง เช่น ปวดบวม และจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล หลังจากหายอาจมีอาการมึนงงไปอีกหลายสัปดาห์

วัคซีนไข้หวัดใหญ่...กับเรื่องที่ควรรู้

วัคซีนไข้หวัดใหญ่เป็นวัคซีนชนิดฉีด ผลิตจากเชื้อที่ตายแล้วโดยผ่านกระบวนการผลิตที่มีความปลอดภัย และมีประสิทธิภาพสูงในการป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ แต่ผู้ฉีดวัคซีนแล้วอาจเป็นไข้หวัดใหญ่ได้ แต่อาการจะน้อยลง วัคซีนไข้หวัดใหญ่ ไม่ป้องกันไข้หวัดทั่วไปที่เกิดจากเชื้ออื่นๆ 

ใครควรได้รับการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่

- บุคลากรทางการแพทย์ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วย

- หญิงตั้งครรภ์ อายุครรภ์ 4 เดือนขึ้นไป

- เด็กอายุ 6 เดือน ถึง 2 ปี

- ผู้ที่มีโรคเรื้อรัง คือ ปอดอุดกั้นเรื้อรัง หอบหืด หัวใจ หลอดเลือดสมอง ไตวาย มะเร็งที่กำลังให้เคมีบำบัด เบาหวาน 

- บุคคลที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป

- ผู้พิการทางสมองช่วยเหลือตัวเองไม่ได้

- โรคธาลัสซีเมีย ภูมิคุ้มกันบกพร่อง (รวมถึงผู้ติดเชื้อเอชไอวี ที่มีอาการ) 

- ผู้ที่น้ำหนักตั้งแต่ 100 กิโลกรัม หรือ BMI ตั้งแต่ 35kg/m2   

ควรฉีดวัคซีนเมื่อไหร่

 
สามารถฉีดได้ตลอดปี แต่ช่วงเวลาที่เหมาะสม คือ ก่อนฤดูฝน (เดือนพฤษภาคม) และก่อนฤดูหนาว (เดือนตุลาคม) เนื่องจากเป็นช่วงที่เริ่มมีการระบาดของโรค
 

วัคซีนต้องฉีดซ้ำหรือไม่

 
วัคซีนต้องฉีดซ้ำทุก 1 ปี ถ้าต้องการป้องกันอย่างต่อเนื่อง สำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 9 ปี ที่รับการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่เป็นปีแรก ควรได้รับ 2 เข็ม โดยเข็มที่ 2 ห่างจากเข็มแรก 4 สัปดาห์ 
 
สังเกตอาการข้างเคียง 
 
วัคซีนทุกชนิดสามารถทำให้เกิดอาการข้างเคียงได้ สำหรับวัคซีนไข้หวัดใหญ่อาจมีอาการบวมแดงบริเวณที่ฉีด มีไข้ ปวดเมื่อย มักจะเริ่มไม่นานหลังฉีด อาการดังกล่าวควรหายภายใน 1-2 วัน การแพ้ถึงขั้นเป็นอันตรายต่อชีวิตมีน้อยมาก ถ้าหากเกิดขึ้นจะปรากฎภายใน 2-3 นาที ถึง 2-3 ชั่วโมงหลังฉีก โดยอาจมีอาการหายใจไม่สะดวก เสียงแหบ หรือหายใจมีเสียงดัง ลมพิษ ซีดขาว อ่อนเพลีย หัวใจเต้นเร็ว วิงเวียนศีรษะ หน้ามืด เป็นลม หมดสติได้
 
การดูแลรักษาอาการข้างเคียง หากปวด บวมบริเวณที่ฉีด ให้ประคบด้วยผ้าเย็น หากมีไข้ให้รับประทานยาลดไข้ในชนาดที่เหมาะสม หากมีอาการรุนแรง หรือเป็นมาก ควรปรึกษาแพทย์ทันที และแจ้งอาการให้ทราบโดยละเอียด
 
 ฉีดวัคซีนแล้วเกิดอาการข้างเคียงควรทำอย่างไร
 
หลังรับการฉีดวัคซีนควรเฝ้ารอสังเกตอาการข้างเคียงในสถานพยาบาลอย่างน้อย 30 นาที เมื่อกลับไปบ้านควรมีผู้ดูแลต่อไปอีก 2 วัน หากมีอาการข้างเคียง ควรแจ้งให้แพทย์ทราบทุกครั้งก่อนรับการฉีดวัคซีนครั้งต่อไป
 
ใครไม่ควรฉีดวัคซีนหรือควรเลื่อนการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่
 
- เด็กอายุน้อยกว่า 6 เดือน
- คนที่มีประวัติแพ้ไก่ หรือไข่ไก่อย่างรุนแรง เพราะวัคซีนผลิตในไข่ไก่ 
- ผู้ที่เคยฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่แล้วมีอาการแพ้อย่างรุนแรง
- หากมีไข้หรือเจ็บป่วยเฉียบพลัน หรือโรคประจำตัวมีอาการกำเริบ ควบคุมไม่ได้ ควรเลื่อการรับวัคซีนไปก่อน
 
กรณีเป็นหวัดเล็กน้อย ไม่มีไข้ สามารถรับการฉีดวัคซีนได้ 
 
โรคไข้หวัดใหญ่ ป้องกันได้ ด้วยตัวเอง  ดังนี้
 
- รักษาร่างกายให้แข็งแรง และอบอุ่น
- ล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำและสบู่
- เครื่องใช้ส่วนตัวไม่ควรใช้ปะปนกับผู้อื่น
- หลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีคนแออัด
- ไม่คลุกคลี หรือนอนร่วมกับผุ้ป่วยในระยะที่มีการระบาดของโรค
- ในกลุ่มเสี่ยงสูงควรรับการฉีดวัคซีนตามกำหนดเวลาที่แพทย์แนะนำเสมอ ในกรณีที่ไม่สามารถมารับการฉีดวัคซีนได้ตามทีกำหนด ควรรีบมารับการฉีดทันทีที่ทำได้
 
แหล่งข้อมุล : กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข 
บทความ
MOIT9 หลักฐานที่แสดงถึงแนวปฏิบัติการจัดการเรื่องร้องเรียนของหน่วยงาน
MOIT9 หลักฐานที่แสดงถึงแนวปฏิบัติการจัดการเรื่องร้องเรียนของหน่วยงาน

1. มีคู่มือการดำเนินงานเรื่องร้องเรียนการปฏิบัติงานหรือการให้บริการของเจ้าหน้าที่ ภายในหน่วยงาน ที่มีแบบฟอร์มการเผยแพร่ข้อมูลต่อสาธารณะผ่านเว็บไซต์ของหน่วยงาน 2. มีคู่มือปฏิบัติงานการรับเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ ที่มีแบบฟอร์ม การเผยแพร่ข้อมูลต่อสาธารณะผ่านเว็บไซต์ของหน่วยงาน 3. มีหลักฐานที่แสดงถึงช่องทางการร้องเรียน ตามข้อ 1. และข้อ 2. อาทิ ผ่านระบบหมายเลขโทรศัพท์ ผ่านระบบอินเตอร์เน็ต ผ่านระบบไปรษณีย์ ผ่าน Application หรือช่องทางอื่น ๆ ที่หน่วยงานกำหนดตามความเหมาะสม

 MOIT16 หน่วยงานมีแผนปฏิบัติการป้องกัน ปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ และแผนปฏิบัติการส่งเสริมคุณธรรมของชมรมจริยธรรม ประจำปีของหน่วยงาน
MOIT16 หน่วยงานมีแผนปฏิบัติการป้องกัน ปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ และแผนปฏิบัติการส่งเสริมคุณธรรมของชมรมจริยธรรม ประจำปีของหน่วยงาน

 MOIT16 หน่วยงานมีแผนปฏิบัติการป้องกัน ปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ และแผนปฏิบัติการส่งเสริมคุณธรรมของชมรมจริยธรรม ประจำปีของหน่วยงาน 16.1 แผนปฏิบัติการป้องกัน ปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ ของหน่วยงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565       1. มีบันทึกข้อความเสนอผู้บริหารสูงสุดของหน่วยงาน เพื่อขอความเห็นชอบอนุมัติ และลงนามในแผนแผนปฏิบัติการป้องกัน ปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ ของหน่วยงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 และมีการขออนุญาตนำเผยแพร่บนเว็บไซต์ของหน่วยงาน      


อ่านทั้งหมด ..
ขึ้นด้านบน